วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อวัยวะรับความรู้สึกจมูกกับการดมกลิ่น

จมูกกับการดมกลิ่น

จมูกกับการดมกลิ่น

จมูก เป็นอวัยวะรับความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่นในรูปของแก๊ส ( olfactory receptor ) ใน จมูก
มีหน่วยรับความรู้สึกต่อสิ่งเร้าที่เป็นประเภทสารเคมี( Chemoreceptor) เช่นเดียวกับเซลล์รับรสของลิ้น
การรับกลิ่นอาศัยเยื่อรับกลิ่น ( Olfactory epithelium ) ภายในจมูก การรับรสอาหารส่วนใหญ่
อาศัยกลิ่นประกอบด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางพวกจะมีจมูกไวต่อการรับกลิ่นมากเช่นพวกสัตว์มีกีบ สัตว์ฟันแทะและสัตว์กินเนื้อ สัตว์เหล่านี้จะมีจมูกอ่อนยาวมากและมีเยื่อรับกลิ่นยึดติดโดยตลอด การที่มีเซลล์รับกลิ่นมากทำให้สามารถรับกลิ่นได้ดี
จมูกของคนแบ่งออกเป็น 3 บริเวณดังนี้
1. ส่วนแรกของลมหายใจเข้า ( Vestibular region ) ได้แก่รูจมูก และโพรงจมูกส่วนนอก
เป็นส่วนแรกของจมูก เป็นทางผ่าน ของลมหายใจเข้า มีขนจมูกและต่อมน้ำมันอยู่ทั่วไปภายใต้กระดูกอ่อน
ซึ่งเป็นส่วนปลายของจมูก
2. ส่วนหายใจ ( Respiratory region ) เป็นบริเวณที่เกี่ยวกับทางเดินของลมหายใจ
เป็นส่วนที่ยาวที่สุด อยู่ลึกจากบริเวณทางเข้ามีเยื่อบุผิวหลายชนิด บางชนิดเป็นเยื่อบุผิวที่มีเซิเลีย
( ciliated epithelium ) ซึ่งมีสีชมพู ภายในมีต่อมเมือกและเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงอยู่มากมาย
3. ส่วนดมกลิ่น ( Olfactory region ) หรือบริเวณรับกลิ่น เป็นบริเวณที่มีการดมกลิ่นอยู่ที่
ส่วนบนและด้านหลังของจมูกทั้งซ้ายและขวา ในจมูกแต่ละข้างมีพื้นที่ประมาณ 2.5 ตารางเซนติเมตร
บริเวณรับกลิ่นด้านบนจะมีเยื่อบุเรียกว่า ออลแฟคทอรี เอปีทีเลียม ( Olfactory epithelium )
เยื่อนี้มีสีเหลือง ที่เยื่อนี้จะมีตัว เซลล์ประสาทรับกลิ่น ( Olfactory receptor หรือ Olfactory cell ) ฝังอยู่ประมาณ 60 ล้านเซลล์ เซลล์รับกลิ่นนี้เป็นเซลล์ประสาทชนิดสองขั้ว แต่ละเซลล์มีเดนไดร์ตประมาณ 6 – 12 อัน การที่มีเดนไดร์ตหลายอันทำให้มองเห็นเป็นเส้น ๆ จึงเรียก เดนไดร์ตนี้ ว่า แฮร์( Hair )
หรือซีเลีย ( Cilia ) ซึ่งจะกระตุ้นแล้วส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 หรือเรียกว่า
ออลแฟคทอรีแทรค ( Olfactory tract ) ไปยังสมองส่วนออลแฟคทอรีบัลบ์ บริเวณจมูกส่วนนี้เต็มไปด้วยเยื่อเมือก และเซลล์หลายชนิด นอกจากนี้ช่องจมูกยังติดต่อกับคอหอยได้โดยมีรูเล็ก ๆ ทำให้
ได้กลิ่นอาหารด้วย
คุณสมบัติของตัวกระตุ้นที่จะทำให้รับกลิ่นได้ดี

1. ต้องระเหยได้ สามารถระเหยเข้ารูจมูกได้
2. ละลายน้ำได้เล็กน้อยเพื่อให้ละลายผ่านเยื่อเมือกเข้าสู่เซลล์รับกลิ่นได้
3. ละลายในไขมันได้ เพราะบริเวณ ออลแฟคทอรี แฮร์ และปลายเซลล์รับกลิ่นประกอบด้วยไขมัน
ในขณะที่เป็นหวัดจะรู้สึกคัดจมูก จมูกจะตันและเยื่อจมูกจะบวม ความสามารถในการรับกลิ่นจะหายไป แต่ละคนมีความไวต่อกลิ่นไม่เหมือนกัน ผู้หญิงจมูกจะไวต่อการรับกลิ่นได้ดีกว่าผู้ชาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น