วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเขียนข้อเสนอโครงร่างวิจัย

       เนื่องจากได้รับการคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)               ให้เป็นครูพี่เลี้ยงวิชาการตามโครงการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์                   ช่วงชั้นที่ 3  จึงมีโอกาสได้เข้ารับการประชุมปฏิบัติการอบรมครูแกนนำวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หลักสูตร 3 การวิจัยในชั้นเรียน วันที่ 2 4 กรกฎาคม  2552 ณโรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ วิทยากรในการอบรมมีหลายท่าน   แต่หัวข้อที่นำมาเผยแพร่นี้ คือการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย  วิทยากรคือ  รศ.ชูศรี  วงศ์รัตนะ     อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ              เห็นว่าเนื้อหาจากการอบรมน่าสนใจและคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนครูในการทำวิจัย                จึงนำเอกสารการอบรมมาเผยแพร่
                                                                                         
                                                                               กัญญา    ชัยรัตน์
                                                                    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
                หัวข้อที่จะเสนอมี 3 หัวข้อ คือ
·       ความหมายของข้อเสนอโครงการวิจัย
·       ส่วนประกอบที่สำคัญของข้อเสนอโครงการวิจัย
·       หลักการเขียนข้อเสนอ

ความหมายของข้อเสนอโครงการวิจัย
     ข้อเสนอโครงการวิจัย ( Research  Proposal ) คือ แผนงานวิจัยที่ผู้วิจัยเขียน ตามที่ผู้วิจัยได้คิดและวางแผนไว้เป็นลำดับขั้นตอนหลังจากที่ได้หัวข้อวิจัยที่เหมาะสมแล้ว เป็นแผนงานวิจัยที่กำหนดไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร และจะทำอย่างไร เป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าหรือมีความสำคัญอย่างไร
โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในการวิจัยเป็นอย่างไร  มีกรอบแนวคิดที่ได้จากการศึกษาเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยสนับสนุนหรือไม่ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบใดในการตอบปัญหาวิจัย และมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยอย่างไร โดยรายละเอียดต่าง ๆ ที่เขียนในแผนงานวิจัยต้องสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยและวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ส่วนประกอบที่สำคัญของข้อเสนอโครงการวิจัย
1.             ชื่อเรื่อง
2.             ภูมิหลัง หรือที่มาของปัญหา
3.             วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.             ความสำคัญของการวิจัย
5.             ขอบเขตของการวิจัย
6.             นิยามศัพท์เฉพาะ
7.             กรอบแนวคิดในการวิจัย
8.             สมมติฐานของการวิจัย ( ถ้ามี )
9.             เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
10.      วิธีดำเนินการ ซึ่งควรกล่าวถึงหัวข้อต่อไปนี้
                        กลุ่มเป้าหมายนักเรียน
                        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                        แบบแผนการวิจัย ( ถ้ามี ) และขั้นตอนการทดลอง
                        วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
                        การวิเคราะห์ข้อมูล
11.      งบประมาณค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการดำเนินงาน

หลักการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
            หลักการเขียนชื่อเรื่อง
                ระบุตัวแปร  กลุ่มเป้าหมายนักเรียน  รูปแบบการวิจัย
                ตัวอย่าง  ผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

                หลักการเขียนภูมิหลัง
-                   ความสำคัญของตัวแปรที่เลือกมาศึกษา
-                   สภาพปัญหาที่พบในกลุ่มเป้าหมายนักเรียน
-                   แนวทางการวิจัยที่จะใช้ในการแก้ปัญหา

หลักการเขียนความมุ่งหมายของการวิจัย
-                   ศึกษาอะไร ( ตัวแปรตาม )
-                   กับใคร ( กลุ่มเป้าหมายนักเรียน
-                   ในแง่ใด ( สำรวจ เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หรือทดลอง )

หลักการเขียนความสำคัญของการวิจัย
เขียนบรรยายในประเด็นดังนี้
-                   ทำให้ได้ความรู้ใหม่อะไร
-                   ได้แนวทางอะไรในการแก้ปัญหา
-                   ได้ประโยชน์สำหรับใคร

หลักการเขียนขอบเขตของการวิจัย
-                   กำหนดลักษณะของกลุ่มเป้าหมายนักเรียน  และระบุจำนวนให้ชัดเจน
-                   กำหนดเหตุผลและวิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมาย
-                   ระบุตัวแปรที่ศึกษา

หลักการเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ
-                   นิยามศัพท์เฉพาะ คือ การให้ความหมายของคำสำคัญในการวิจัยเรื่องนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแปรตาม และตัวแปรอิสระ
-                   ตัวแปรที่เป็นนามธรรม ต้องให้นิยามแบบนิยามปฏิบัติการ ( Operational  definition )
-                   การนิยาม ต้องอาศัยทฤษฎี หลักการ แนวคิดจากผู้รู้ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

หลักการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย
    ควรเสนอกรอบแนวคิดที่เป็นทฤษฎี หลักการ หรือแหล่งที่มาของตัวแปรอิสระที่จะใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาของนักเรียน

หลักการเขียนสมมติฐานของการวิจัย
-                   สมมติฐานของการวิจัย คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้วางไว้
-                   งานวิจัยที่ต้องตั้งสมมติฐาน คือ งานวิจัยที่ต้องการอธิบายตัวแปรตามด้วยตัวแปรอิสระ

หลักการเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-                   เน้นแนวคิด หลักการ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของตัวแปรหลักที่ศึกษา
-                   เน้นงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรหลักที่ศึกษา
-                   สรุปเป็นแนวคิด หรือหลักการ ที่ผู้วิจัยจะใช้ในการดำเนินการวิจัย

หลักการเขียนวิธีดำเนินการวิจัย
1.             การเขียนกลุ่มเป้าหมายนักเรียน
             -  ลักษณะการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
             -  เหตุผลของการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
             -  เทคนิคหรือวิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมาย
2. การเขียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    2.1 เครื่องมือการวิจัยที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
           -  ชื่อเครื่องมือการวิจัย เช่น แบบสอบถาม  แบบทดสอบ
           -  ลักษณะเครื่องมือการวิจัย เช่น แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า
              แบบทดสอบแบบอัตนัย
          -  ที่มาของเครื่องมือการวิจัย : สร้างเอง ปรับปรุง ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ
    2.2  เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการทดลอง
          -  ชื่อเครื่องมือ เช่น ชุดกิจกรรม  แบบฝึก แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ
          -  ระบุลักษณะเครื่องมือ
         -  ที่มาของเครื่องมือ : สร้างเอง พัฒนาจากที่มีอยู่
3. การเขียนแบบแผนการวิจัย ( ถ้ามี )
    - ชื่อแบบแผนการวิจัย
    - จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
    - จำนวนครั้งของการเก็บข้อมูล
4. การเขียนขั้นตอนของการดำเนินการทดลอง
    - เขียนให้สอดคล้องกับแบบแผนการวิจัยที่เลือกใช้
    - เขียนให้เห็นกระบวนการทดลองเป็นขั้น ๆ
5. การเขียนวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
   - จำนวนครั้งในการเก็บรวบรวมข้อมูล
   - ลักษณะของเครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแต่ละครั้ง
   - วิธีการเก็บข้อมูล ( เช่น ใช้แบบทดสอบ  สัมภาษณ์  จดบันทึก )
6. การเขียนเรื่องการสะท้อนข้อมูลกลับ
    - สะท้อนกลับเมื่อใด
    - สะท้อนกลับอย่างไร
   - ใช้ผลการสะท้อนกลับอย่างไร
7. การเขียนเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล
    7.1 กรณีข้อมูลเชิงปริมาณ
          - ใช้สถิติพื้นฐาน เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
          - ใช้แผนภูมิแท่ง / ใช้กราฟเส้น
   7.2 กรณีข้อมูลเชิงคุณภาพ
         - วิเคราะห์เนื้อหา ( ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต  จดบันทึก )
         - จัดกลุ่มเนื้อหา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น