ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง หูทำหน้าที่ในการรับฟัง ( phononreceptor) และทำหน้าที่เกี่ยวกับ
การทรงตัว ( statoreceptor ) ส่วนในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอวัยวะในการรับฟังและทรงตัวอยู่คนละแห่ง
ในสัตว์พวกกบ คางคก จะมีช่องหูส่วนกลาง ด้านนอกของช่องหูส่วนนี้มีเยื่อบางๆปิดอยู่ เยื่อนี้อยู่ในระดับเดียวกับผิวหนัง ในสัตว์เลื้อยคลานมีอวัยวะรับฟังเสียงที่ทำงานได้ดีกว่าสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก
งูมีอวัยวะรับฟังเสียงแต่ยังไม่มีแก้วหูเสียงจะผ่านกะโหลกศีรษะมายังอวัยวะรับความรู้สึกโดยตรงโดยรับเสียงจากพื้นดินได้ทางเดียวสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆและนก มีเยื่อแก้วหูที่อยู่ลึกจมอยู่ใต้ผิวหนังสัตว์เหล่านี้จึงมีรูหู สัตว์เลื้อยคลานบางชนิดเช่นจระเข้จะมีแผ่นหนังปิดช่องรูหู แผ่นหนังนี้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเจริญไปเป็นใบหู
หูของคนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หูส่วนนอก หูส่วนกลาง และหูส่วนใน
1.หูส่วนนอก ( outer ear )ประกอบด้วย
1.1 ใบหู ( pinna ) ทำหน้าที่รวมคลื่นเสียงจากหูส่วนนอกเข้าสู่ช่องหู ประกอบด้วยกระดูกอ่อนที่ยืดหยุ่นได้ สามารถบิดตัวหรือกระดิกได้โดยไม่เสียรูปทรง เป็นโครงสร้างที่พบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเท่านั้นสัตว์บางชนิดเช่นม้าจะเคลื่อนไหวใบหูเพื่อปรับตัวตามทิศทางของคลื่นเสียง
1.2 ช่องหู หรือรูหู ( external auditary canal )เป็นช่องยาว 25 ซม. อยู่ถัดจากใบหูเข้าไปจนจดเยื่อแก้วหู เป็นทางผ่านของคลื่นเสียงที่สะท้อนจากใบหูไปยังเยื่อแก้วหู ส่วนกลางของช่องหูจะมีขนและต่อมขี้หูผลิตสารคล้ายขี้ผึ้งทำหน้าที่ป้องกันแมลงเล็กๆและฝุ่นละอองไม่ให้เข้าสู่ภายใน และยังช่วยต้านทานคลื่นเสียงที่มากระทบเพื่อป้องกันเยื่อแก้วหู
1.3 เยื่อแก้วหู ( tympanic membrane หรือ ear drum)มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆรูปไข่กั้นระหว่างช่องหูกับหูส่วนกลาง โดยขึงอยู่บนขอบกระดูก คลื่นเสียงที่ผ่านเข้าไปในหูจะทำให้เยื่อแก้วหูสั่นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณความแรงของคลื่นเสียง ที่ผ่านเข้ามาเยื่อแก้วหูจะเพิ่มแรงสั่นสะเทือนได้มากถึง 17 เท่าเยื่อแก้วหูของคนปรกติจะไม่ทะลุและจะเป็นมันวาวเมื่อส่องไฟดู
2. หูส่วนกลาง (Middle ear)ประกอบด้วย
2.1 ท่อยูเตเชียน ( eustachian tube ) เป็นท่อเล็กๆเชื่อมต่อกับคอหอย ท่อนี้ทำหน้าที่ปรับความดัน
ระหว่างหูส่วนในกับบรรยากาศภายนอกให้เท่ากัน ในขณะที่ขึ้นบนดอยสูงซึ่งมีความดันภายนอกน้อย
กว่าภายใน เยื่อแก้วหูจะถูกดันให้โป่งออกมาทำให้เกิดอาการหูอื้อ หรือในคนที่เป็นหวัดอาจทำให้ท่อ
ยูสเตเชียนอักเสบและตีบตันได้ มีผลทำให้ความดันภายนอกกับภายในหูไม่เท่ากันทำให้เกิดอาการหู
อื้อได้เช่นเดียวกัน
2.2 กระดูก 3 ชิ้น คือกระดูกค้อน (malleus ) กระดูกทั่ง (incus ) และกระดูกรูปโกลน (stapes ) กระดูกทั้ง 3 ชิ้นนี้ทำหน้าที่ขยายความสั่นสะเทือนของเยื่อแก้วหูให้เพิ่มมากขึ้นโดยความสั่นสะเทือนของเยื่อแก้วหูจะทำให้กระดูกรูปค้อนมีการเคลื่อนไหวเป็นอันดับแรกส่งผลให้กระดูกทั่งและกระดูกโกลนเคลื่อนไหวตาม กระดูกทั้ง 3 ชิ้นทำหน้าที่ช่วยขยายความสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงให้เพิ่มมากกว่าเดิมประมาณ 1.3 เท่า และทำหน้าที่เป็นคานถ่ายทอดการสั่นสะเทือนเข้าไปยังหูตอนในทางช่องรูปไข่
3. หูส่วนใน ( Inner ear ) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากหูส่วนกลาง เป็นที่อยู่ของหน่วยรับความรู้สึกในการรับฟังเสียงและหน่วยรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว
3.1 คอเคลีย ( cochlea )เป็นหน่วยรับความรู้สึกในการรับฟังเสียง มีลักษณะเป็นหลอดยาว 35 ม.ม.
ขดเวียนแบบก้นหอยส่วนฐานใหญ่ส่วนยอดเล็ก ภายในมีของเหลวบรรจุเรียกว่า endolymph และมี
อวัยวะรับเสียงโดยตรงเรียกว่า Organ of corti ภายในมีแผ่นเยื่อ 2 แผ่นขึงติดตลอดความยาวแบ่ง
ส่วนของคอเคลียออกเป็น 3 ช่องคือ ช่องบน ช่องกลางและช่องล่างทั้งสามห้องมีของเหลวบรรจุอยู่เต็ม
ของเหลวในช่องบนและช่องล่างเรียกว่า เพอริลิมพ์ ( perilymph) ส่วนของเหลวที่อยู่ในช่องกลาง
เรียกว่าเอนโดลิมพ์ (endolymph)ภายในช่องกลางมีอวัยวะรับเสียงเรียกว่าออร์แกน ออฟคอร์ติ
(Organ of corti ) ประกอบด้วยเซลล์ซึ่งมีขนเส้นเล็กติดอยู่เรียกว่าเซลล์ขน ( hair cells )เมื่อคลื่นเสียง
ผ่านเข้ามาจากแก้วหูจนถึงกระดูกค้อน ทั่ง โกลน ผ่านช่องรูปไข่เข้าเพอริลิมพ์และส่งไปยังเอนโดลิมพ์
เซลล์ขนในออร์แกนออฟคอร์ติจึงสั่นสะเทือนและส่งคลื่นของแรงสั่นสะเทือนนี้ไปยังเส้นประสาทสมอง
คู่ที่ 8
3.2 อวัยวะรับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว ( Organ of equilibrium ) ประกอบด้วยหลอดครึ่งวงกลม 3 วง ( semicircular canal ) 3 อันเชื่อมติดกันกับถุงยูตริเคิล ( utricle หรือ utriculus) หลอดทั้ง 3อันมีรูปทรงครึ่งวงกลมตั้งฉากซึ่งกันและกัน ปลายของแต่ละหลอดเปิดเข้าสู่ยูตริเคิล ภายในหลอดมีของเหลวชื่อเอนโดลิมพ์หล่อเลี้ยงปลายด้านที่ไม่เชื่อมกับยูตริเคิลของแต่ละหลอดมีส่วนที่พองออกเรียกว่ แอมพูลา ( ampula ) ในแอมพูลามีกลุ่มเซลล์ที่มีขนเส้นเล็กๆเซลล์กลุ่มนี้ทำหน้าที่รับความรู้สึก เรียกว่า คริสตา
( crista ) ในแอมพูลายังมีก้อนหินปูนเล็กๆเรียกว่าสแตโตลิธ ( statolith ) เมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือเอียงตัวเอนโดลิมพ์จะไหลไปกระทบกับขนและสแตโตลิธกลิ้ง ไปกระทบขน ส่งความสะเทือนไปยังเซลล์ เซลล์จะส่งกระแสประสาทออกไปกับเส้นประสาทรับฟัง ส่งไปยังสมองทำให้ทราบถึงตำแหน่งที่อยู่ได้ว่า เอียงไปทางไหน จากนั้นยังสมองส่วนซีรีเบลลัม จะส่งกระแสประสาทออกไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยว กับการทรงตัวและรับรู้เกี่ยวกับตำแหน่งและความสมดุลของร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น