วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

การลำเลียงน้ำของพืช

พืชได้รับน้ำทางรากโดยใช้ส่วนขนรากลำเลียงน้ำจากดินเข้าไปผ่านทางขนราก การลำเลียงน้ำจากดินเข้าสู่ขนรากเป็นกระบวนการลำเลียง passive transport จากขนรากซึ่งเป็นเซล์์ในเนื้อเยื่อชั้นเอพิเดอร์มิส มีการลำเลียงผ่านเนื้อเยื่อชั้นคอร์เท็กซ์ ไปจนถึงเนื้อเยื่อชั้นเอนโดเดอร์มิส มีทิศทางการลำเลียงน้ำ 3 ทิศทางคือ
   1. แบบซิมพลาสต์ เป็นการลำเลียงน้ำผ่านแต่ละเซลล์โดยส่งผ่านทางพลาสโมเดสมาตา น้ำจะผ่านเข้าไปในแต่ละเซลล์ จากขนรากคือชั้นเอพิเดอร์มิส คอร์เท็กซ์ เอนโดเดอร์มิส เพริไซเคิล ไซเลม
   2. แบบอะโพพลาสต์ น้ำลำเลียงผ่านโดยแแทรกผ่านผนังเซลล์ของแต่ละเซลล์ไปจนถึงเอนโดเดอร์มิสซึ่งจะผ่านไม่ได้เพราะมีแถบแคสพาเรียนสตริปกั้นอยู่น้ำจึงต้องเคลื่อนที่เข้าไปผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของเอนโดเดอร์มิส
   3. เคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มระหว่างสองเซลล์(transmembrane)ในขณะที่ทิศทางการลำเลียงทั้งซิมพลาสต์ หรืออะโพพลาสต์น้ำสามารถเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มระหว่างสองเซลล์ที่อยู่ชิดกันได้
    เมื่อน้ำเคลื่อนที่ไปถึงไซเลมแล้ว น้ำจะเคลื่อนที่ขึ้นไปยังส่วนใบ หรือยอดของพืชได้ ด้วยแรงดึงจากการคายน้ำ(transpiration pull) การเกิดแรงดึงนี้ได้อาศัยการเกิดแรง 2 ชนิด คือ แรงโคฮีชัน เป็นยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำ และแรงแอดฮีชันซึ่งเป็นแรงยึดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับผนังของไซเลม ทำให้น้ำเคลื่อนต่อเนื่องกันไปเป็นสาย ดูคลิปวิดีโอประกอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น